วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบท

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวสุพิชชา ถนอมทรัพย์กุล รหัสนิสิต 57010810050 คณะเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการอาหาร ระบบปกติ กลุ่มที่เรียน 1

บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
      1. ข้อมูล หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
      2. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
ยกตัวอย่างประกอบ ผลงานศิลปะของคน สถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้าง การแกะสลัก หรือการเขียนบันทึกตัวหนังสือ รูปภาพ เรื่องราวลงบนวัตถุต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อมีการค้นพบภายหลังสิ่งเหล่านี้ ก็คือเป็นข้อมูลปฐมภูมิเช่นกัน
      3. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่
ยกตัวอย่างประกอบ ตัวอักษรที่จารึกเรื่องราวเป็นแท่งหินถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ต่อมามีผู้พบแล้วพยายามอ่านแล้วแปลหรือถ่ายทอดออกมาเผยแพร่ต่อส่วนที่ถูกถ่ายทอดออกมาเผยแพร่นี้ เรียกว่า เป็นข้อมูลทุติยภูมิ
     4. สารสนเทศ หมายถึง สารสนเทศที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูล ทำให้เกิดองค์ความรู้และช่วยให้เกิดประโยชน์ในการตัดสินใจได้  
     5. จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ
         1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ
               1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์

                1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา
     2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
                2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
               2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น
               2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล
               2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์
     6. ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ ข้อมูล
     7. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น ข้อมูลทุติยภูมิ
     8. ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ
     9. ผลของการลงทะเบียนเป็น ข้อมูลทุติยภูมิ
    10. กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section วันอังคารเป็น ข้อมูลปฐมภูมิ


บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
 1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
                 1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
 -  Dek-D.COM - เด็กดีดอทคอม
 - วิชาการ.คอม
 - เว็บไซต์ฝึกเขียน อ่าน ภาษาอังกฤษ
                1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
- กรมพัฒนาธุรกิจ
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกรุงไทย
                 1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
- ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- เดลินิวส์
- Sanook! News
               1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
               1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
- กระทรวงสาธารณสุข
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร
                 1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
- กองทัพบก
- รับสมัครทหารกองหนุน
- แจ้งเบาะแสออนไลน์
                 1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
- สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
- สภาวิศวกร
- โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
               1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเกษตรกรรม
- การเกษตร
- การเกษตรจากชุมพร
                1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
- กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- กศน.เพื่อคนพิการ
- สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
- ห้องสมุดดิจิตอล
- ตู้ถอนเงินอัตโนมัติ
- โปรเจคเตอร์
3. จากข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
    ห้องสมุดดิจิตอลเป็นศูนย์ให้ความรู้แก่นักศึกษาไปค้นหาความรู้ อ่าหนังสือและสามารถใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาหนังสือหรือสิ่งต่างๆได้สะดวกและใช้งานง่าย


บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
     1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

     2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

     3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม

     4. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง

     5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
  1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
  2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
  3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
  5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
5-4-1-2-3

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
     1. ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
   1) การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
- CD
- Memory Card
- บัตร ATM
   2) การแสดงผล
- จอภาพ
- เครื่องพิมพ์
- พลอตเตอร์
   3) การประมวลผล
- เครื่องคิดเลข
- ฮาร์ดแวร์
- ซอฟแวร์
   4) การสื่อสารและเครือข่าย
- โทรศัพท์มือถือ
- I-Pad
- I-Pod
  2. ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
(3) ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
(10) Information Technology
2. e-Revenue
(7) คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
(4) เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และDecoder
(1) ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
(8) ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(9) การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
(6) EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
(5) การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
(2) บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                                                     

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ
 คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
      1. จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
ตอบ   เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการนำสารสนเทศ มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายๆ คน มุ่งเน้นที่จะเก็บรวบรวม ประมวลผล และเผยแพร่ข้อมูล โดยมีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบาลและแนวปฏิบัติ บุคลากรหรือผู้ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการจัดการ การจัดการสารสนเทศสามารถดำเนินการได้ 3 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษาข้อมูล
      2. การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
ตอบ 1. ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล คือ การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
         2. ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ คือ
   1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาจึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร การจัดการสารสนเทศจึงนับว่ามีความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องมีการออกแบบระบบการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
   2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก
   3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ
      3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
ตอบ  2 ยุค ได้แก่
               1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
                2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
      4. จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ      1. การหาข้อมูลทำรายงานส่งอาจารย์
                2. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องการซื้อ
                3. การใช้เฟสบุคในการติดต่อสื่อสาร


บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
     1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
 เทคโนโลยี
      2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
  การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
      3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
  ระบบอัตโนมัติ
      4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
 ถูกทุกข้อ
      5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
 การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
      6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
ถูกทุกข้อ
      7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
      8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
      9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
      10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
ถูกทุกข้อ

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
      1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
      2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
      3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ Operating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่น ๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
      4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1) ใช้โปรแกรมสแกนไวรัส
2) เปิดระบบป้องกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall)
3) การนำ Proxy เข้ามาทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์โดยเป็นการติดต่อผ่าน Proxy Server เพื่อป้องกันระบบ Internet ให้ปลอดภัย
4) ไม่กดโหลดอะไรมั่ว ควรอ่านให้ดีๆ
5) ไม่คลิกโฆษณาหน้าเว็บไซต์ต่างๆ
      5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูลไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
-ส่วนแรกคิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
-ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
-ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
     1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
   ตอบ ผิดทางกฎหมายเพราะโปรแกรมที่นาย A ทำขึ้นมาเป็นไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งส่งให้นางสาว C และ       นางสาว     C ก็มีความผิดเพราะส่งให้เพื่อนต่อๆไป
     2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนายJ” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
   ตอบ ไม่ผิดเพราะเด็กชาย K เนื้อหากที่นำมามีส่วนอ้างอิงน่าเชื่อถือได้และทำรายงานขึ้นเพื่อการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น